คำอธิบายรายวิชา
แนวคิดและหลักการการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ที่มีภาวะปกติ กฎหมายและนโยบายสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลมารดาและทารก บทบาทหน้าที่ขอบเขตความรับผิดชอบของพยาบาลและผดุงครรภ์ การให้คำปรึกษาก่อนสมรสและก่อนการตั้งครรภ์ การวางแผนครอบครัว ภาวะมีบุตรยาก การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา จิตสังคมในระยะตั้งครรภ์และทุกระยะของการคลอด องค์ประกอบและกลไกการคลอดการคลอดปกติ การพยาบาลมารดา ทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดที่มีภาวะปกติ การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยยนมแม่ การใช้ยาอย่างสมเหตุผลในมารดาและทารกแรกเกิด และฝากภาค ทดลอง หลักการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ที่มีภาวะปกติตามขอบเขตสาระรายวิชา
สาระสำคัญ
ระยะหลังคลอดเป็นช่วงเวลาที่ต่อเนื่องมาจากระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด เป็นระยะที่มารดาต้อง ปรับตัวอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านกายวิภาคและสรีรวิทยาของอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ และการคลอด รวมทั้งภาวะจิตใจ อารมณ์ สังคม ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมเหมือนก่อนตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นนี้ มีโอกาสทำให้มารดาหลังคลอดเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ บทบาทสำคัญของพยาบาลในการดูแลมารดาหลัง คลอดในระยะนี้คือ การประเมินภาวะสุขภาพของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การสอนและให้คำแนะนำ เพื่อให้ มารดาและครอบครัวสามารถปรับตัวผ่านระยะหลังคลอดได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้กระบวนการพยาบาลที่ให้แก่มารดา หลังคลอดต้องมีหลักฐานเชิงประจักษ์ มีการผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแล รวมถึงการใช้ยาในระยะหลังคลอด อย่างเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของมารดาหลังคลอด และสามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาได้อย่างมี ประสิทธิภาพต่อไป
ประมวลรายวิชา
วัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบทเรียน
LLO1: อธิบายหลักการประเมิน 13B ในการประเมินมารดาและทารกแรกเกิดได้ถูกต้อง
LLO2: เข้าใจหลักการประเมิน 13B ในการประเมินมารดาและทารกแรกเกิดได้ถูกต้อง
LLO3: นำหลักการประเมิน 13B ไปใช้ในการประเมินมารดาและทารกแรกเกิดได้ถูกต้อง
จำนวน 1 ชั่วโมงเรียนรู้ ( 60 นาทีสื่อวีดิทัศน์)

” ยินดีต้อนรับนักศึกษาทุกคน เราจะได้เรียนรู้การพยาบาลมารดาหลังคลอดและทารกในระยะหลังคลอด เกี่ยวกับการประเมินสุขภาพมารดาและทารก ขอให้ทุกท่านสนุกกับบทเรียนนี้ “
— ณชพัฒน์ จีนหลักร้อย RN, M.N.S (Midwifery) —
ทีมอาจารย์ผู้สอน สาขาวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
วพบ.สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
ทีมพัฒนาสื่อและสร้างเทคโนโนโลยี :
คุณเกรียงไกร หร่ายอุดทา และ คุณภานุพงศ์ ต้นโพธิ์ธรรม
(งานวิทยบริการ วพบ.สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์)